Kokugura ร้าน คราฟต์ ราเมน ฟีล Japandi ในย่านอารีย์ ที่เสิร์ฟเพียง 3 เมนูราเมน และตอนกลางคืนจะแปลงร่างเป็นบาร์สาเกไวบ์ดีน่านั่ง

แม้ อารีย์ จะเป็นย่านที่เต็มไปด้วยร้านอาหารมากมายให้เราได้ฝากท้องกันมากแค่ไหน แต่ถ้ามองดี ๆ จะพบว่า จริง ๆ แล้วย่านนี้ยังขาดร้าน ราเมน ดี ๆ ให้เรานึกถึงและอยากแวะ (เพราะสุดท้ายเวลาเสี้ยนราเมน เราจะคิดถึงฝั่งสุขุมวิทก่อนเสมอ) จนการมาถึงของ Kokugura ร้านราเมนไซซ์กะทัดรัดที่รสชาติเป็นที่เลื่องลืออย่างรวดเร็ว จน Routeen. เองต้องรีบแวะไปพิสูจน์ด้วยตัวเองในวันนี้

kokugura white cloud อารีย์ ชั้น 7
kokugura ramen ราเมน อารีย์

และผู้อยู่เบื้องหลังของ Kokugura นี่ก็ไม่ใช่ใครอื่นไกล แต่เป็น เชฟแอ๋ – กุลพล สามเสน เจ้าของร้านบะหมี่ดึงมือชื่อดังในย่านเดียวกันนี้อย่าง “ยุ้งฉาง” นี่แหละ (แน่นอนว่า ชื่อร้าน Kokugura นี้ก็แปลว่า ‘ยุ้งฉาง’ เช่นกัน มีความแฟมิลี่ที่ซ่อนเอาไว้เล็ก ๆ) นี่เป็นโปรเจ็กต์ใหม่ของเชฟแอ๋หลังจากที่ร้านยุ้งฉางเริ่มอยู่ตัว แต่การเกิดขึ้นของร้าน ราเมน นี้ไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ เพราะเกิดจากความชอบกินราเมนของเชฟเอง และพอมองในย่านอารีย์ที่เขาอยู่มานานจริง ๆ ก็พบว่าย่านนี้ยังขาดร้านคราฟต์ราเมนอยู่นั่นเอง

ร้าน ราเมน อารีย์ เคาน์เตอร์ อาหาร ญี่ปุ่น kokugura

ในขณะที่ตัวเชฟแอ๋เองก็มีทักษะในการทำเส้นและซุปอยู่แล้ว เขาจึงตั้งใจจะออกไปท่องยุทธภพของ ราเมน ให้รู้จัดชัดแจ้งกันไปเลย เพราะเชฟแอ๋คิดเสมอว่า “คนเราไม่สามารถทำอาหารไปได้อร่อยกว่าที่เราเคยกิน” ดังนั้นสิ่งที่ห้ามขาดในการทำอาหารอย่างหนึ่ง ก็คือการที่ต้องรู้ว่าสิ่งที่อยู่ยอดเขาของอาหารนั้น ๆ มันไปถึงไหนแล้ว

Kokugura ร้าน คราฟต์ ราเมน ฟีล Japandi อารีย์

ก่อนเปิดร้าน เขาจึงตัดสินใจเดินทางไปญี่ปุ่น เพื่อจัดทริปตะลุยร้านราเมนชื่อดัง และร้านราเมนที่สนใจเป็นการส่วนตัวทั้งหมด โดยทุกวัน เชฟแอ๋จะต้องแวะร้านราเมนถึง 3-4 ร้าน เพื่อวัดระดับว่า ราเมน เองตอนนี้จะไปสิ้นสุดอยู่ที่จุดไหน โดยมี คุณปิ๊ปโป้ – เปรมวิชช์ สีห์ชาติวงษ์ (ที่น่าจะเรียกว่าเป็นนักกินราเมนตัวยงอันดับท็อป ๆ ของประเทศไทย) มาช่วยกันลิสต์ร้าน และพูดคุยกันถึงเรื่องราวของราเมนในปัจจุบันว่าเดินทางกันจนถึงจุดไหนแล้ว

kokugura ramen ราเทน ชาชู craft คราฟต์ อารีย์

“เชฟแอ๋คิดเสมอว่า 'คนเราไม่สามารถทำอาหารไปได้อร่อยกว่าที่เราเคยกิน' ดังนั้นสิ่งที่ห้ามขาดในการทำอาหารอย่างหนึ่ง ก็คือการที่ต้องรู้ว่าสิ่งที่อยู่ยอดเขาของอาหารนั้น ๆ มันไปถึงไหนแล้ว”

โดยส่วนตัวแล้วเชฟแอ๋ชอบกินทงคตสึราเมน หรือแนวซุปไพตัน (ซุปสีขาวจากเบสซุปไก่ที่เข้มข้น เป็นเนื้อครีม มีกลิ่นหอมที่เดิดจากการเคี่ยวกระดูกเป็นเวลานาน) ทีรสชาติดูดุ ๆ สะใจ แต่เทรนด์ของคราฟต์ราเมนในสมัยนี้จะมาในทาง ชินตัน (กลุ่มซุปใส) มากกว่า แต่ทริปนี้เชฟแอ๋จัดไปลองร้านเด็ดที่มีเบสซุปครอบคลุมทั้งหมด

ตั้งแต่ ชิโอะ (ที่เป็นเบสไก่) ทงคตสึ (ที่เป็นเบสปลา) ฮะกะตะสไตล์ โชยุ (ทั้งแบบโอลด์สกูล และแบบโมเดิร์น) คะระมิโซะ เบสซุปปลาน้ำใส อะบุระโซบะ ท์สึเคเมน ไปจนถึงราเมนหอยนางรม เชฟแอ๋ก็พยายามเก็บให้หมดในทริปนี้

Chuka Soba Tomita 5 AM Ramen
ภาพร้าน Chuka Soba Tomita ขอบคุณภาพจาก 5AM Ramen

แม้ว่าการชิมราเมนแต่ละร้าน ก็เหมือนการอ่านหนังสือดี ๆ สักเล่มจนจบ (และเชฟแอ๋ก็อ่านจบไปหลายเล่มมาก ๆ) แต่ร้านที่เรียกได้ว่ามีอิมแพกกับความเป็น Kokugura ได้มากที่สุดคงต้องยกให้ร้าน Chuka Soba Tomita (โทมิตะ) ที่มีจุดเด่นอยู่ที่ความเข้มข้น และความคราฟต์ของซุป ที่ถึงกับทำให้เชฟแอ๋ฟินจนรู้สึกไม่อยากให้ราเมนตรงหน้าหมด และยังรู้สึก ‘อยากกินอีก’ กับร้านนี้มาก ๆ เมื่อกลับมา จึงอยากทำ ร้าน ราเมน ที่ผู้ชิ้มลองรู้สึก Satisfied กับชามตรงหน้า เหมือนที่เขารู้สึกเมื่อครั้งไปกินที่โทมิตะนั่นเอง

ราเมน ซุป กระดูกหมู เกลือ อารีย์ อร่อย กิน เส้น

ทางร้านใช้ซุปเบสหมู ไก่ ซีฟู้ดแห้ง และวัตถุดิบอื่น ๆ อีกมากมาย ที่ต้มจนข้นจนงวด หรือที่เรียกว่า Noko Gyokai Tonkotsu Soup แต่กว่าจะมาถึงจุดนี้ได้ เชฟแอ๋ต้องพัฒนาสูตรนานกว่า 6 เดือน หมดไปกว่า 70 หม้อ เพื่อให้เทียบเท่ากับความอร่อยแบบที่เขาเคยไปลิ้มลองด้วยตัวเองที่ญี่ปุ่นได้

รวม เมนู ราเมน kokugura อารีย์ Routeen.

นอกจากนี้ ทางร้านยังแบ่งการเปิดเป็น 2 ช่วงเวลา คือเปิดเป็น ร้าน ราเมน ในช่วงกลางวัน พร้อมอาหารเรียกน้ำย่อยอีก 10 อย่าง และช่วงกลางคืนเป็น Otsumami และ Sake Bar เพื่อให้เป็นตัวเลือกของร้านนั่งดื่มแบบญี่ปุ่นนอกเหนือจาก Izakaya ที่มีมากมายในบ้านเราด้วย

นอกจากนี้ ตอนกลางคืนยังสามารถสั่งตัวราเมนที่เป็นพรีเมียมได้ (ยังคงเป็น 3 เมนูราเมนเบสซุปเหมือนเดิม เพิ่มเติมคือวัตถุดิบท็อปปิงที่อลังการขึ้น) หรือหากสมัครสมาชิกกับทางร้าน ก็สามารถลิ้มลองรสชาติของราเมนในช่วงกลางวัน ในเวลากลางคืนได้ด้วยเช่นกัน เพราะทางร้านเข้าใจถึงคนทำงานว่าคงหาโอกาสช่วงกวางวันมากินไม่ง่ายนัก

Ika Sumi Tsukemen ราเมน หมึกดำ Routeen.

เรามีโอกาสลองครบทั้ง 3 เมนู เริ่มที่ Ika Sumi Tsukemen (ธรรมดา 299 บาท พิเศษ 429 บาท) ท์สึเคเมนที่เลือกใช้เป็นเส้นแบบหนาสไตล์ของท์สึเคเมน กินคู่กับซุปหมูเข้มข้นที่ใส่ของทะเลแห้งอย่างปลาซาบะ และปลาคัตสึโอะแห้งรมควันจากเกียวโตลงไปเพิ่ม เสริมความเข้มข้นด้วยหมึกดำจากอิตาลี และเติมกลิ่นปลาหมึกให้ชัดเจนขึ้นด้วยปลาหมึกแห้งจากปราณบุรี โรยน้ำมันกุ้งเพื่อเพิ่มความหอม มาพร้อมท็อปปิ้งทั้งสันคอหมูย่างฟาง คอหมูย่างตุ๋น และสาหร่ายแผ่นย่าง 

Ika Sumi Tsukemen ราเมน หมึกดำ Routeen. kokugura

ที่ต้องบอกว่ากลิ่นเครื่องทะเลตีจมูกมาตั้งแต่ยกชามมาเสิร์ฟ และความข้นคลั่กของซุป จึงทำให้เกาะติดเส้นเวลาจุ่มได้ดีมาก ๆ รสชาติของสัตว์บกที่รวมกับซีฟู้ดที่ไม่น่าจะเข้ากันได้ดี แต่กลับลงตัวอย่างไม่น่าเชื่อ และถ้าใครชอบกลิ่นปลาหมึก บอกเลยว่าจะต้องถูกใจชามนี้แน่นอน

Gyokai Tonkotsu Ramen

ต่อกันที่ Gyokai Tonkotsu Ramen (ธรรมดา 279 บาท พิเศษ 399 บาท) ที่ถูกใจคอซุปข้น ๆ แน่นอน ตัวเบสซุปจะไม่ต่างจากท์สึเคเมนที่เสิร์ฟไปก่อนหน้านี้ เพียงตัดหมึดดำออกไปเท่านั้น เสิร์ฟพร้อมเส้นที่เล็กลงมาจากท์สึเคเมนเล็กน้อย ที่มีความเหนียว หนึบ และความลื่นเป็นเอกลักษณ์

และพอเป็นซุปแบบเกียวไค จึงทำให้ชามนี้ค่อนข้างเข้มข้น แนะนำให้ลองกินแบบปกติก่อน แล้วค่อยคนเอากระเทียมบดที่ใส่เครื่องเทศต่าง ๆ ลงไปด้วยเพิ่มเติม จะได้รสชาติอีกแบบที่ทำให้ ราเมน ชามนี้มีสีสันขึ้น

Niboshi Shio Ramen ราเมน เกลือ อารีย์ Routeen.

สุดท้ายกับ Niboshi Shio Ramen (ธรรมดา 259 บาท พิเศษ 379 บาท) ราเมน ซุปเกลือ ที่ทางร้านใช้เป็นเกลือฮะกะตะจากฟุกุโอกะ เบสหมู ไก่ และปลาซาร์ดีนแห่งจากเกียวโต เติมใบโอบะ และผิวส้มยุสุลงไปเพิ่ม พร้อมใส่น้ำมันที่สกัดจากปลาซาร์ดีนแห้ง เสิร์ฟคู่เส้นแบบกลมเล็ก ที่ทำมาจากแป้งโฮลวีต

ชามนี้จะได้ความไลต์ ๆ สไตล์ซุปใส แต่ก็ยังไม่ทิ้งความแตกซ่านของเครื่องเคราที่ซ่อนอยู่ในซุปอยู่ ความอวลในปากของกลิ่นทะเลยังคงเป็นเอกลักษณ์ที่ส่งมาถึงชามนี้เช่นกัน

Deep Fried Iwashi With Mentaiko Aioli ปลา อิวาชิ กับแกล้ม จานเคียง kokugura

เราลองสั่งอาหารทานเล่นอย่าง Deep Fried Iwashi With Mentaiko Aioli (290 บาท) มาทานเล่นคู่กัน ปลาอิวาชิ (หรือปลาซาร์ดีน) นำไปห่อกับใบโอบะแล้วทอดแบบดีปฟรายส์ วางลงบนซอสเอโอลีเมนไทโกะ ที่เป็นจานเคียงแบบลงตัว 

Routeen. Kokugura cocktail ค็อกเทล ราเมน

ถือเป็นอีกหนึ่งร้านคราฟต์ ราเมน ที่สามารถสร้างสีสันและเคิมเต็มให้ย่านอารีย์มีประเภทอาหารได้อย่างครบถ้วน (แถมมีคุณภาพ) ได้ รวมถึงยังดันบาร์ของความเป็นคราฟต์ ราเมน ที่มาจากคนไทย ว่าถึงแม้จะไม่ใช่ร้านสาขาจากญี่ปุ่น หรือเชฟญี่ปุ่นมาทำ แต่ทั้่งความตั้งใจ และฝีมือของเชฟแอ๋ ก็ยืนยันให้เรากล้าที่จะชวนทุกคนมาลองราเมนที่นี่ให้ได้สักครั้ง

Kokugura
เปิดทุกวัน (เว้นวันจันทร์) 11:00 – 15:00 น. และ 17:00 – 24:00 น.
ชั้น 7 อาคาร White Cloud ซอยอารีย์ 5 ฝั่งเหนือ
BTS อารีย์ แล้วเดิน | มีที่จอดรถ (มีค่าจอด)

google maps

Articles You Might Like

Share This Article